วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562

คกก. พิจารณาการเก็บอากรรังนกอีแอ่นกระบี่ แจ้งเขตสัมปทานเก็บรังนก ให้ประชาชนได้ทราบ



คกก. พิจารณาการเก็บอากรรังนกอีแอ่นจังหวัดกระบี่ แจ้งเขตสัมปทานเก็บรังนก ให้ประชาชนได้ทราบและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2540 และหลักเกณฑ์ที่กำหนด

พันตำรวจโทหม่อมหลวงกิติบดี ประวิตรผู้ ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่าตามที่ บริษัทรังนกกระบี่จำกัด ได้แจ้งต่อ คณะกรรมการพิจารณาการเก็บอากรรังนกอีแอ่นจังหวัดกระบี่ ว่าได้มีผู้เข้ามาทำการประมงและวางไซขนาดใหญ่ในบริเวณแนวเขตสัมปทาน เป็นจำนวนมากผิดปกติซึ่งเป็นเช่นนี้มานานหลายปีและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ที่ซึ่ง บริษัทไม่อาจทราบได้ว่าบุคคลที่เข้ามานั้นเป็นชาวประมงจริงหรืออาจเป็นบุคคลเข้ามาเพื่อลักลอบรังนก ซึ่งการลักลอบรังนกโดยไม่คำนึงถึงวงจรชีวิตของนกเป็นการทำลายแม่นก ไข่นก และลูกนกอีแอ่น ทำให้จำนวน ลดน้อยลงไปทุกปี หากไม่มีการแก้ไขในระยะยาวอาจสูญพันธุ์ไปจากจังหวัดกระบี่ได้

ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่าคณะกรรมการพิจารณาอากรรังนกอีแอ่นจังหวัดกระบี่ จึงขอแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบว่า ตามระเบียบคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนกอีแอ่นจังหวัดกระบี่ ว่าด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บรังนกอีแอ่นพ.ศ 2543 ระบุว่าภายในอาณาบริเวณโดยรอบที่วัดจากแนวที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดเป็นแนวเริ่มต้นนับให้เป็นเขตสัมปทาน
ทั้งนี้จากข้อมูลของเพจห้องข่าวกระบี่ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 ได้ระบุว่า บริษัท รังนกกระบี่ ได้รับสัมปทานรังนกอีแอ่นพื้นที่หลักทะเลอันดามัน โดยในพื้นที่จังหวัดกระบี่สามารถประมูลรังนกไปได้ในวงเงิน 135 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี เป็นการเปิดประมูลครั้งที่ 3 โดย 2 ครั้งก่อนไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล


สำหรับพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่นพ.ศ 2540 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติใช้บังคับในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง กระบี่ ตรัง พังงา สตูลและจังหวัดตราด โดยให้แต่ละจังหวัดมีคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนกอีแอ่นมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน องค์การบริหารส่วนจังหวัดรับผิดชอบในการเก็บเงินอากรรังนก และปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการ ในมาตรา 19 ผู้รับสัมปทานจะต้องสงวนและคุ้มครองนกอีแอ่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกาศกำหนด โดยให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าของกรมป่าไม้มาประกอบการพิจารณาด้วย และ มาตรา 25 กำหนดว่าบนเกาะหรือในที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่มีรังนกอยู่ตามธรรมชาติห้ามมิให้ผู้กระทำการ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใด ๆอันเป็นหรืออาจจะเป็นอันตรายแก่นกอีแอ่นไข่ของนกอีแอ่นหรือรังนกหรืออาจเป็นเหตุให้นกอีแอ่นและที่อยู่อาศัยไปจากเกาะหรือที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินดังกล่าว ผู้ฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย


...

ดีเจ
กระบี่
www.yodkrabiradio.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น