วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ผู้ว่าฯกระบี่ร่วมประชุมทางไกลเตรียมการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง


ผู้ว่ากระบี่ ร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ Video conference การเตรียมการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง

องคมนตรีทรงอัญเชิญพระราชกรแสความห่วงใยสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาล ทีี 10
วันนี้ (20 ส.ค.62) ที่ห้องประชุมปลายพระยา (ชั้น 2)​ ศาลากลางจังหวัดกระบี่ พันตำรวจโทหม่อมหลวงกิติบดี ประวิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ พร้อมด้วย ท้องถิ่นจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดกระบี่ เข้าร่วมการประชุมทางไกลผ่านระบบ Video conference การเตรียมการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยมีพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมฯ จากห้องประชุม1 อาคาร 3 ชั้น 5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและมี นายพลากร สุวรรณรัฐ คณะองคมนตรีและคณะ ร่วมรับฟังการประชุมการเตรียมการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ด้วย


สำหรับมาตราการภัยแล้งกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำการดำเนินการตามข้อสั่งการ บกปภ.ช. ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งและได้สั่งการให้ทุกจังหวัดดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงในระยะเร่งด่วน โดยให้ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสภาวะอากาศและการบริหารจัดการน้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนถึงสถานการณ์น้ำ รณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัด พร้อมทั้งสำรวจและจำแนกพื้นที่เสี่ยงภัยให้ชัดเจน ตรวจสอบแหล่น้ำดิบต้นทุน ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดบริหารจัดการเครื่องจักรกลสาธารณภัยเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาให้เพียงพอและแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคเมื่อพบพื้นที่ประสบความเสียหาย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ใช้เงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 หากพื้นที่ใด มีข้อจำกัดวงเงินทดรองราชการไม่เพียงพอ ให้รายงานมายัง ปภ.เพื่อดำเนินการ นอกจากนี้ให้จังหวัดรายงานสถานการณ์และผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในการให้ความช่วยเหลือประชาชนและผลการปฏิบัติในการให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ประมวลและวางแผนของรัฐบาลเชิงนโยบายต่อไป
ทั้งนี้องคมนตรีได้อัญเชิญพระราชกระแสความห่วงใยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3 ประการดังนี้ ข้อ 1 ให้ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องหากเกิดภัย ข้อ 2 ให้คิดปรับแนวทางและแผนในการเผชิญเหตุทั้งในภาพรวมและเฉพาะเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ข้อ 3. ให้รวบรวมความเสียหาย ประมาณการต่อยอดสิ่งใหม่ที่ยังไม่ได้ทำ และอย่าให้ประชาชนของพสกนิกรของท่าน อดอยาก ดังจะเห็นได้จาก การตั้งโรงครัวพระราชทาน เป็นต้น


ทางด้านผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ในฐานะประธานป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ได้กล่าว เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ ฝากทางอำเภอให้ไปดูแลแผนและปรับปรุงแผนการเตาียมความพร้อม ให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเตรียมพร้อมและทราบบทบาทหน้าที่ของตนเอง เช่น มิสเตอร์เตือนภัย ในกรณีเกิดเหตุการณ์ และภัยทุกรูปแบบ ตรวจอุปกรณ์ให้ใช้การได้อยู่เสมอ ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ปัญหาการใช้น้ำของภาคส่วนต่างๆ น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร การเตรียมความพร้อมกำลังคน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัยให้มีความพร้อมใช้งาน ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้มีความพร้อมในการลงตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัย แล้งและการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ทุกภาคส่วน รับทราบ เข้าใจแนวทางการการบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน ตลอดจนเชิญชวนจิตอาสา ให้เข้ามามีส่วนร่วมทุกกิจกรรมให้มากขึ้น ตามความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น จิตอาสาภัยพพิบัติ โดยนำจิตอาสามาเป็นกลไกหรือฟันเฟือง สำคัญ ในการช่วยลดเหตุ ภัยต่าง ๆได้ กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ และเน้นการมีส่วนร่วมอย่างเต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมการรณรงค์ทางท้องถนน ภัยจากดินโคลนถล่ม และภัยพิบัติทุกรูบแบบ ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทและตรียมความพร้อมซักซ้อมความเข้าใจ แก้ไขได้สถานการณ์หากเกิดภัยทุกรูปแบบได้อย่างทันท่วงที
...

ดีเจ
กระบี่
www.yodkrabiradio.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น