วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

กระบี่จัดใหญ่! เทศกาลผ้าประจำถิ่นและหัตถกรรม หนุน Soft Power สู่สากล พร้อมประกาศผลผู้ชนะการประกวดออกแบบผ้าอัตลักษณ์

 



กระบี่จัดใหญ่! เทศกาลผ้าประจำถิ่นและหัตถกรรม หนุน Soft Power สู่สากล พร้อมประกาศผลผู้ชนะการประกวดออกแบบผ้าอัตลักษณ์

กระบี่, 29 มิถุนายน 2568 – จังหวัดกระบี่ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่ ร่วมกับแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดกระบี่ จัดงาน "เทศกาลสืบสานอนุรักษ์งานศิลป์ ผ้าประจำถิ่นและงานหัตถกรรมจังหวัดกระบี่" ระหว่างวันที่ 27–29 มิถุนายน 2568 ณ ถนนคนเดินกระบี่ เพื่อสรุปผลสำเร็จจากโครงการ “การสืบสานอนุรักษ์งานศิลป์ ผ้าประจำถิ่นและงานหัตถกรรมจังหวัดกระบี่” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และผลักดัน Soft Power ของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ

ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ นิทรรศการผ้าลายอัตลักษณ์ประจำถิ่น, การออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้า งานหัตถกรรม สินค้า OTOP และอาหารพื้นถิ่นกว่า 50 บูธ, การเดินแบบแฟชั่น "ผ้าไทยใส่ให้สนุก", การแสดงศิลปวัฒนธรรม, การสาธิตการย้อมผ้าจากสีธรรมชาติและงานหัตถกรรม รวมถึงการมอบรางวัลการประกวดออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้า/งานหัตถกรรมจากลายผ้าอัตลักษณ์

ผลการประกวดออกแบบผ้าอัตลักษณ์ประจำถิ่น จังหวัดกระบี่ มีดังนี้:

ประเภทเดี่ยว

  • รางวัลชนะเลิศ: “Refraction of Krabi” โดย นางเนืองนิตย์ เพชรกอ

  • รองชนะเลิศอันดับ 1: “Indigo Sea” โดย นางสาวจันทร์จิรา ไพฑูลย์อาสน์

  • รองชนะเลิศอันดับ 2: “Decon Memorize” โดย นางสาวพรพิมล พรหมรัตน์

  • รางวัลชมเชย: “มรกตอันดามัน” โดย นายสนธยา ชลธี และ “KEB NEW LOOK” โดย นายสุริยา เล็กกุล

ประเภททีม

  • รางวัลชนะเลิศ: “Sea Za” โดย นางสาวพิชชาภา ฤกษ์มงคลกิจ และ นายณัฐนันทพล ด้วงมาก

  • รองชนะเลิศอันดับ 1: “อดีตที่มีชีวิต” โดย นายกฤษฎา แก้วชูดวง, นางสาวขวัญชนก เรืองทอง และ นายวชิรวุฒิ กลั่นซ้าย

  • รองชนะเลิศอันดับ 2: “SOUND OF ANDAMAN” โดย นางสาวนิตยา แดงขาว, นายพรพจน์ นวลเขียว และ นางสาวศริญญา นวลเขียว

  • รางวัลชมเชย: “ZEA GEN ETERNITY” โดย นางสาวณัชชา เพชรกอ และ นางชูวรรณ แก้วแย้ม

  • รางวัลชมเชย: “ห้วงเวลาแห่งความสุข หาได้จากกระบี่” โดย นายสายชล ละงู, นายธีรพล ทะเลลึก และ นายวาทิพย์ ต้นทัพไทย

โครงการนี้มีเป้าหมายสำคัญในการยกระดับคุณภาพ มาตรฐาน และเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย รวมถึงนักออกแบบและช่างตัดเย็บชุดผ้าไทย นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการใช้และสวมใส่ผ้าไทยอย่างสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดการรับรู้ถึง “Krabi Soft Power” ทั้งในระดับท้องถิ่นและสากลต่อไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น