วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เฝ้าระวังไข้เลือด รักษาผิดวิธีอาจถึงตาย!



โรคไข้เลือดออกขณะนี้มีการแพร่ระบาดสูงขึ้นในทุกจังหวัด ซึ่งในปี ๖๒ เป็นการครบวงรอบการระบาด ปกติจะระบาดปีเว้นปีหรือสองปี โดยตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค.๖๒ ถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วยไข้เลือดออกกว่า ๔๔,๖๗๑ ราย เสียชีวิต ๖๒ ราย โดยในเดือน มิ.ย.๖๒ มีผู้ป่วยจำนวน ๑๕,๔๔๐ ราย เสียชีวิต ๑๓ ราย ก.สาธารณสุขได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานมีมาตรการรับมืออย่างเข้มข้น ดังนี้

- ให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งตั้งมุมให้คำปรึกษาไข้เลือดออกเพื่อคัดกรอง ติดตาม ดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกและจัดให้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ดูแลกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยอาการรุนแรงอย่างใกล้ชิด

- จัดอบรมแพทย์จบใหม่ในการวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออก รวมถึงขอความร่วมมือประชาชน จิตอาสา ช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง

- ให้แต่ละบ้านสำรวจจุดเสี่ยงแหล่งเพาะพันธุ์ลูกนํ้ายุงลายที่พบบ่อย เช่น ภาชนะที่ถูกทิ้ง จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่าไม่ให้มีน้ำขัง โอ่งใส่น้ำที่ไม่มีฝาปิด ส่วนภาชนะรองน้ำทิ้งหลังตู้เย็น ภาชนะรองขาตู้กับข้าว แจกันพลูด่าง แก้วน้ำหิ้งพระให้ทำความสะอาดเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์หรือใช้กับดัก “LeO-Trap” ใส่สาร ซีโอไลต์ นวัตกรรมกับดักไข่ยุงแบบดักตาย นำไปวางในบ้านในห้องนั่งเล่น ใต้บันได ชั้นวางรองเท้าหรือบริเวณที่มียุงชุกชุมเพื่อช่วยตัดวงจรยุง

- ขอความร่วมมือร้านขายยา คลินิก ไม่ให้จ่ายยาแก้ปวดลดไข้กลุ่มเอ็นเสด เช่น แอสไพริน บรูเเฟน ในผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้เลือดออก เพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น


สาระสำคัญ
โรคไข้เลือดออกขณะนี้มีการแพร่ระบาดสูงขึ้นในทุกจังหวัด ซึ่งในปี ๖๒ เป็นการครบวงรอบการระบาด ปกติจะระบาดปีเว้นปีหรือสองปี โดยตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค.๖๒ ถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วยไข้เลือดออกกว่า ๔๔,๖๗๑ ราย เสียชีวิต ๖๒ ราย โดยในเดือน มิ.ย.๖๒ มีผู้ป่วยจำนวน ๑๕,๔๔๐ ราย เสียชีวิต ๑๓ ราย ก.สาธารณสุขได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานมีมาตรการรับมืออย่างเข้มข้น ดังนี้

- ให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งตั้งมุมให้คำปรึกษาไข้เลือดออกเพื่อคัดกรอง ติดตาม ดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกและจัดให้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ดูแลกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยอาการรุนแรงอย่างใกล้ชิด

- จัดอบรมแพทย์จบใหม่ในการวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออก รวมถึงขอความร่วมมือประชาชน จิตอาสา ช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง

- ให้แต่ละบ้านสำรวจจุดเสี่ยงแหล่งเพาะพันธุ์ลูกนํ้ายุงลายที่พบบ่อย เช่น ภาชนะที่ถูกทิ้ง จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่าไม่ให้มีน้ำขัง โอ่งใส่น้ำที่ไม่มีฝาปิด ส่วนภาชนะรองน้ำทิ้งหลังตู้เย็น ภาชนะรองขาตู้กับข้าว แจกันพลูด่าง แก้วน้ำหิ้งพระให้ทำความสะอาดเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์หรือใช้กับดัก “LeO-Trap” ใส่สาร ซีโอไลต์ นวัตกรรมกับดักไข่ยุงแบบดักตาย นำไปวางในบ้านในห้องนั่งเล่น ใต้บันได ชั้นวางรองเท้าหรือบริเวณที่มียุงชุกชุมเพื่อช่วยตัดวงจรยุง

- ขอความร่วมมือร้านขายยา คลินิก ไม่ให้จ่ายยาแก้ปวดลดไข้กลุ่มเอ็นเสด เช่น แอสไพริน บรูเเฟน ในผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้เลือดออก เพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น


อาการเบื้องต้นของโรคไข้เลือดออก 
- ผู้ป่วยมีไข้สูง ๒ วัน อาการไม่ดีขึ้น อ่อนเพลีย ซึมลง ปัสสาวะสีเข้ม หรือไข้ลดแล้วแต่อาการแย่ลง ซึมกว่าเดิม เบื่ออาหาร ขอให้สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกและรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที และห้ามซื้อยารับประทานเอง

- ผู้ป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น ปวดศีรษะ ตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามตัว สำหรับอาการเด่นคือไข้สูงเฉียบพลัน แต่ส่วนมากไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ อาจมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว และรักแร้
...

ดีเจ
กระบี่
www.yodkrabiradio.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น